\r\n หัวข้อวิทยานิพนธ์ ศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะ แรงงานระดับอาชีวศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัด กรุงเทพมหานคร Study of Dual System Education and Learning According The Vocational Qualification of Private Vocational Education Institutions in Bangkok \r\nชื่อ - นามสกุล นางสาวลัดดาวัลย์ หมวกพิมาย \r\nสาขาวิชา / วิชาเอก เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา \r\nอาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ \r\nปีการศึกษา 2555 \r\n\r\n\r\nบทคัดย่อ \r\n การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาเปรียบเทียบอาจารย์กับครูฝึกของการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นอาจารย์ของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่มีการจัดหลักสูตรทวิภาคีและครูฝึกสถานประกอบการ จำนวน 328 คน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยวิธีการของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับความคิดเห็นของอาจารย์สถาบันอาชีวศึกษาศึกษาเอกชนที่มีการจัดหลักสูตรทวิภาคีและครูฝึกสถานประกอบการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการจัดหลักสูตรและด้านการนิเทศการศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2. ระดับความคิดเห็นของอาจารย์ของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนที่มีการจัดหลักสูตรทวิภาคีและครูฝึกสถานประกอบการเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านพุทธิพิสัยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีของอาจารย์สถาบันอาชีวศึกษาเอกชนกับครูฝึกสถานประกอบการโดยรวม พบว่า อาจารย์ของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนมีระดับความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีน้อยกว่าครูฝึกสถานประกอบการ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาของอาจารย์สถาบันอาชีวศึกษาเอกชนกับครูฝึกสถานประกอบการโดยรวม พบว่า อาจารย์ของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนมีความคิดเห็นต่อการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาน้อยกว่าครูฝึกสถานประกอบการ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5.ผลการเปรียบเทียบอาจารย์ของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนและครูฝึกสถานประกอบการที่มีระดับการสอนแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ผลการเปรียบเทียบอาจารย์ของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนและครูฝึกสถานประกอบการที่มีระดับการสอนแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 7. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษา พบว่าการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 \r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\nคำสำคัญ :การจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคี , การเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษา , สถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร \r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n( PAGE \* MERGEFORMAT ข) \r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n\r\n |